Dcleanfood.com : โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร
- dcleanfood
- Nov 19, 2015
- 1 min read
ตอนที่แล้วเราทราบถึงสาเหตุและอาการของโรคเบาหวานกันไปแล้วนะครับ โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ได้ไกลตัวเราเลย เมื่อเราเกิดภาวะของโรคเบาหวานแล้วการใช้ชีวิตของเราก็จะมีความลำบากและต้องดูแลตัวเองมากขึ้นดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือเราควรเลือกดูแลและป้องกันตัวเราเองให้ห่างไกลจากโรคเบาหวานโดยการออกกำลังกาย และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราเช่นอาหารเจ หรือ อาหารคลีน (Clean Food) ครับ
เมื่อเราอยู่ภาวะของโรคเบาหวาน หากผู้ป่วยท่านใดไม่เคยรับประทานอาหารเช้า จำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมหันมารับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ โดยควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อโดยเน้นที่อาหารเช้าและอาหารกลางวันเป็นหลักและรับประทานอาหารเย็นในปริมาณที่น้อยลง เพื่อผลดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ยังมีผลดีทำให้น้ำหนักของผู้ป่วยลดลง และลดภาวะของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และเพื่อไม่ให้อาการของโรคเบาหวานเกิดการแทรกซ้อนหรือรุนแรงมากขึ้นเรามาศึกษากันดีกว่าครับว่า ผู้เป็นโรคเบาหวานควรปฏิบัติตนและเลือกรับประทานอาหารอย่างไร - ควรงดรับประทานน้ำตาล ของหวานที่มีน้ำตาลทุกชนิด , ผลไม้ที่มีรสหวานหรือน้ำผึ้ง และที่สำคัญควรงดรับประทานน้ำอัดลม เบียร์ หรือน้ำหวานประเภทต่าง ๆ โดยเด็ดขาด - ลดการรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว, ขนมปัง, ข้าวเหนียว และผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ที่มาจากแป้ง - งดรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ขาหมู, หนังไก่, หมูสามชั้น , กะทิ หรืออาหารที่ผ่านการทอดเช่น ลูกชิ้นหรือของทอด โดยควรหันไปรับประทานอาหารโปรตีน เช่น โปรตีนจากธัญพืช โปรตีนจากนม รวมถึงโปรตีนจากผลไม้บางประเภทที่ไม่หวานจัด - ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรระมัดระวังไม่ให้ร่างกายเกิดบาดแผลโดยเฉพาะบาดแผลที่เท้าต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจส่งผลให้มีการอักเสบเรื้อรังจนถึงขั้นต้องตัดเนื้อบางส่วนออก - ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง แต่ไม่ควรเป็นการออกกำลังกายที่หักโหมมากจนเกินไป การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเช่น การว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เล่นโยคะ หรือเดินเร็วเป็นต้น - ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรงดหรือเลิกการสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัวเร็วขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน - ผู้ป่วยควรหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ โดยอาจจะตรวจด้วยตนเองหรือไปตรวจที่โรงพยาบาลก็ได้ - ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เช่นยำจำพวกสมุนไพร หรือสารสกัดต่าง ๆ เพราะยาบางตัวที่ผู้ป่วยซื้อมารับประทานเอง อาจจะมีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมาก
Комментарии